วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 ส่วนประกอบของเครือข่าย


ส่วนประกอบของเครือข่าย ประกอบด้วย
1. สายเคเบิล
2. การ์ดเครือข่าย
3. อุปกรณ์เพื่อการเชื่อมโยง
4.เครื่องคอมพิวเตอร์
5. ซอฟต์แวร์เครือข่าย
6. โพรโทคอล

รีพีตเตอร์/ฮับ  เป็นอุกรณ์ทวนสัญญาณ ที่ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารทางกายภาพบนแบบจำลองOSI 
โดยอุปกรณ์ฮับก็คือรีพีตเตอร์ชนิดหนึ่ง แต่เป็นรีพีตเตอร์ที่มีหลายๆ พอร์ต การเชื่องโยงเครือข่ายภาพฮับจะช่วยแค่เพียงเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยระยะทางไกลเท่านั้น


บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกับสะพานเชี่อมโยงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่ายขึ้นไป ทำงานอยู่ในชั้นสือสารกายภาพและชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล สำหรับเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านอุปกรณ์บริดจ์นั้่น จะทำให้เกิดการแบ่งแยกเครือข่ายออกจากกัน ช่วยลดการคับคั้งของข้อมูลที่สื่อสารบนเครือข่าย
สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์ที่ผนวกคุณสมบัติระหว่างบิตและฮับเข้าด้วยกันกล่าวคือการทำงานของสวิตซ์จะเหมือนกันบริด์ที่สามารถคัดกลั่นกรองข้อมูลภายในเครือข่ายได้ ในขณะเดียวกัน สวิตซ์ก็มีหลายพอร์เหมือนกันฮับที่สามารถไปเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หลายเครื่่อง




แอคเซสพอยต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับรับส่งสัญญาณแบบไร้สาย หลังการทำงานคล้ายกับสวิตซ์แต่รับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

เร้าเตอร์  จะทำงานในสามลำดับชั้น แรกบนแบบจำลอง OSI ซึ้งประกอดด้วยชั้นสื่อสารทางกายภาพ ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล และชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่ายเร้าเตอร์จัดเป็นอุปกรณที่สำคัญมากในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยเฉพาะ เครือข่ายอิเทอร์เน็ต


เกตเวย์  จะทำงานอยู่บนชั้น ลำดับชั้น โดยมักนำเกตเวย์ไปใช้งานเพื่อเป็นประตูการเชื่อมโยงเครือข่ายกับคอมพิวเตอร์ที่สถาปัตยกรรมระบบที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องพีซี กับ เมนเฟรมคอวพิวเตอร์






วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที 4 รูปแบบการเชื่อมต่อโยงเครือข่ายเเละเครือข่ายท้องถิ่น

รูปแบบการเชื่อมต่อโยงเครือข่ายเเละเครือข่ายท้องถิ่น
การเชื่อมเครือข่าย สามารถเชื่อมต่อได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
   1.การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด   2.การเชื่อมต่อแบบหลายจุดโทโพโลยีแบบบัส จะมีสายเคเบิลเส้นหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นสายแกนหลักสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายทั้งหมด




ข้อดี1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่ายข้อเสีย1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุดโทโพโลยีแบบดาว จะมีอุปกรณ์ฮับเป็นศูนย์กลาง โดยทุกๆ โหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงสายเคเบิลเข้ากับฮับแห่งนี้


ข้อดี– การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่ายข้อเสีย– เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
โทโพโลยีแบบวงแหวน โหนดแรกและโหนดสุดท้ายจะเชื่อมโยงถึงกัน ทำให้เกิดมุมมองทางกายภาพเป็นรูปวงกลมขึ้นมา แต่ละโหนดบนเครือข่ายแบบวงแหวนจะส่งทอดสัญญานไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการส่งทอดไปยังทีละโหนดถัดไปเรื่อยๆซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องทวนสัญญานไปในตัว



ข้อดี1.ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้นเป็นตนเองหรือไม่2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของ สัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป3.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกันข้อเสีย1.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้2.ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

โครงการหมายเลข 802 เป็นโครงการที่ใหญ่มาก ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากบริษัทผู้ผลิตและสถาบันการฝึกษาที่น่าสนใจในหัวข้อเรื่องเครือข่ายท้องถิ่นและอินเตอร์เน็ตเวิร์ก โดยคณะกรรมการ
ย่อยของแต่ละชุดในโครงการ 802 จแยกกันพัฒนามาตราฐานเครือข่ายท้องถิ่นที่แตกต่างกัน มีการใช้เลขจุดทศนิยมเพื่อแบ่งแยกเป็นโครงการย่อยๆIEEE 802.3 เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดมาตรฐานของโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตIEEE 802.11 เกี่ยวขข้องกับข้อกำหนดมาตราฐานของเครือข่ายท้องถิ่นแบบไร้สาย
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น ประกอบด้วย อีเทอร์เน็ต ไอบีเอ็มโทเก้นริง และเอฟดีดีไอไอบีเอ็มโทเก้นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ด้วยการใช้โพรโทคอลToken Passing
เอฟดีดีไอ จะใช้กลไกการส่งข้อมูลแบบ Token Passing  เช่นเดียวกับไอบีเอ็มโทเก้นริง แต่เอฟดีดีไอ จะทำงานด้วยความเร็วสูงแบบไฟเบอร์ออปติก ทั้งนี้เอฟดีดีไอยังสามารถออกแบบเพื่อรองรับความเสียหหายของระบบได้ ด้วยการเพิ่มวงแหวนในเครือข่ายเพิ่มอีก รวมเป็น 2 วงแหวนด้วยกันซึ่งประกอบด้วยวงแหวนปฐมภูมิ และวงแหวนทุติยภูมิ

อีเทอร์เน็ต ยังสามารถเชื่อต่อได้ รูปแบบด้วยกัน คือ 10Base5, 10Base2, และ 10BaseT ที่ส่งข้อมูลบนควาเร็ว 10เมกะบตต่อวินาที แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาความเร็วเป็็นสวิตช์อีเทอร์เน็ต อีเทอร์เน็ตความเร็วสูง และกิกะบิตอีเทอร์เน็ต

บทที่ 3 สื่อกลางส่งข้อมูลและการรับส่งข้อมูลบนเครื่อข่าย


รูปแบบการเชื่อมโยงเครื่อข่ายและเครือข่ายท้องถิ่น
             การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์ เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิตอลในแต่ละครั้งในครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง             การส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์ เป็นการใช้ช่องทางการสือสารหลายช่องทองเพื่อส่งสัญญาณเพื่อส่งสัญญาณแอนะล็อก โดยข้อมูลที่ส่งสามารถลำเลียงอยู่บนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน


  สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย จะใช้สายเพื่อจะลำเลียงข้อมูล ตัวอย่างเช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยนำแก้วแสง



  สื่อการส่งข้อมูลแบบไร้สาย จะลำเลียง ข้อมูลภาพทางอากาศ เนื่องจากอากาศมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีทั้งคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่สูง ตัวอย่างเช่น คลื่นวิทยุไมโครเวฟ บลูทูธ และอินฟราเรด


การพิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูล    1. ต้นทุน    2. ความเร็ว    3. ระยะทางและการขยาย    4. สภาพแวดล้อม    5. ความปลอดภัย
วิธีการเข้าถึงสื่อกลาง เป็นการนำโพรโทคอลมาใช้เพื่อควบคุมกลไกการส่งข้อมูล และวิธีแก้ไขเมื่อเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้นภายในสายส่ง โพรโทคอลที่นำมาใช้การ ได้แก่ CSMA/CD และ Token Passing
โปรโตคอล CSMA/CD ประกอบด้วยกลไกการทำงาน     กลไกที่ 1 : การตรวจฟังสัญญาณ     กลไกที่ 2 : การเข้าถึงสื่อการรวมข้อมูล     กลไกที่ 3 : การตรวจจับการชนสัญญาณ

โพรโทคอล Token Passing เป็นวิธีการเข้าถึงสือกลางที่ไมมีการชนกันของกลุ่มข้อมูลเลย ทั้งนี้จะมีรหัสโทเก้นคอยวิ่งอยู่บนสายส่ง เพื่อให้โหนดที่ต้องการส่งได้ครอบครองโดยโหนดที่ครอบครองรหัสโทเก้นเท่านั้น ที่จะสามารถส่งข้อมูลบนเครือข่ายได้ เมื่อส่งข้อมูลเสร็จสมบูรณ์จึงค่อยปลดรหัสโทเก้น เพื่อให้โหนดอื่นครอบครองต่อไป

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทที่ 2 แบบจำลองเครือข่าย

แบบจำลองเครือข่าย



องค์กร ISO และแบบจำลอง OSI
องค์กรกำหนดมาตรฐานสากลหรือ ISO จัดเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสากล โดยในปี ค.ศ. 1970 ทาง ISO ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสร้างแบบจำลองสถาปัตยกรรมเครือข่าย ขึ้น เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า แบบจำลอง OSI (Open Systems Interconnection) และในปี ค.ศ. 1984 ก็ได้มีการประกาศใช้แบบจำลอง OSI อย่างเป็นทางการเพื่อใช้เป็นแบบอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากล
คำว่า Open Systems ก็คือ ระบบเปิด ซึ่งหมายความว่าอนุญาตให้ระบบสามารถสื่อสารกันได้ถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะมีรูป แบบทางสถาปัตยกรรมระบบที่แตกต่างกัน กล่าวคือมาตรฐานแบบจำลอง OSI ที่จัดทำขึ้นมานั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงตรรกใด ๆ บนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
แบบจำลอง OSI หมายถึง แบบจำลองสถาปัตยกรรมเครือข่าย เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์เพื่อให้ระบบที่แตกต่งกันสามารถสื่อสารร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล
อย่างไรก็ตาม แบบจำลอง OSI มิใช่โพรโทคอล แต่เป็นเพียงแบบจำลองแนวคิด ซึ่งเป็นเพียงทฤษฎีที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของแต่ละชั้น สื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ออกแบบระบบสื่อสาร ทั้งนี้แบบจำลอง OSI ยังถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความยืดหยุ่นและคงทนต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน โดยแต่ละชั้นสื่อสารยังสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม
แบบจำลอง OSI มีกรอบการทำงานด้วยการแบ่งเป็นชั้นสื่อสารที่เรียกว่าเลเยอร์ (Layer) แต่ละเลเยอร์จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ที่รับมอบหมายในเลเยอร์นั้น ๆ โดยเฉพาะ ชั้นสื่อสารต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นจะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกันกคือ
  1. ชั้นสื่อสารฟิสิคัล (Physical Layer)
  2. ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ (Data Link Layer)
  3. ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer)
  4. ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer)
  5. ชั้นสื่อสารเซสชั่น (Session Layer)
  6. ชั้นสื่อสารพรีเซนเตชั่น (Presentation Layer)
  7. ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer)
แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งหมดจะต้องอ้างอิงชั้นสื่อสารบนแบบ จำลอง OSI ครบทั้งเจ็ด เนื่องจากบางเทคโนโลยีอาจรวบชั้นสื่อสารบางชั้นมาเป็นเลเยอร์เดียวกัน หรืออาจข้ามการทำงานบางเลเยอร์กรณีเลเยอร์นั้นไม่จำเป็นต่อการใช้งาน
แนวความคิดในการแบ่งชั้นสื่อสาร
  1. เพื่อลดความซ้ำซ้อน ทำให้เรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
  2. เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน
  3. เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารปฏิบัติงานตามฟังก์ชันหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  4. จากขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ละชั้นสื่อสาร ทำให้การสื่อสารเกิดความคล่องตัว และเป็นการป้องกันกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงบนชั้นสื่อสารหนึ่ง ๆ แล้วส่งผลกระทบต่อชั้นสื่อสารอื่น ๆ
  5. จำนวนชั้นสื่อสารจะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ และเหมาะสมต่อการจำแนกหน้าที่การทำงานให้กับแต่ละชั้นสื่อสาร และไม่ควรมีมากจนดูเทอะทะ เกินความจำเป็น


ชั้นสื่อสารในแบบจำลอง OSI (Layers in The OSI Model)
1.      ชั้นสื่อสารฟิสิคัล (Physical Layer)
ชั้นสื่อสารฟิสิคับจะทำหน้าที่ประสานการทำงานในเรื่องของการส่งกระแสบิต (Bit Stream) บนสื่อกลางที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดทางกลไก และทางไฟฟ้าของการอินเตอร์เฟซและสื่อส่งข้อมูล รวมถึงข้อกำหนดด้านฟังก์ชันการทำงาน และขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่จะนำมาอินเตอร์เฟซเพื่อการส่งข้อมูล

2.      ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ (Data Link Layer)
ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์มีหน้าที่ส่งมอบข้อมูลในลักษณะ Hop-to-Hop (Node-to-Node) สำหรับหน่วยข้อมูลในชั้นนี้จะถูกจัดเก็บในรูปแบบของเฟรม (Frame) รับหน้าที่ว่าจะจัดส่งเฟรมไปยังเครือข่ายได้อย่างไร เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับมาจากชั้นสื่อสารฟิสิคัลนั้น อาจมีสัญญาณรบกวนหรือข้อผิดพลาดปะปนมาพร้อมกับสัญญาณข้อมูล ดังนั้นชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์จึงต้องมีกระบวนการตรวจจับ และแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น เพื่อบริการแก่ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กที่อยู่สูงถัดไป


  • 3.      ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer)
สำหรับชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งแพ็กเก็ตจากต้น ทางไปยังปลายทางผ่านเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายด้วยกัน ความแตกต่างระหว่างชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์และเน็ตเวิร์กก็คือ หน่วยข้อมูลบนชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) แต่ละแพ็กเก็ตจะถูกส่งไปยังปลายทาง ซึ่งระหว่างทางอาจมีเครือข่ายย่อยที่ลิงก์เชื่อมต่อมากมายรวมถึงการส่งข้าม เครือข่ายต่างชนิดกัน ในขณะที่ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์จะมีหน่วยข้อมูลในรูปแบบของเฟรม ที่จัดส่งไปยังโหนดปลายทางภายในลิงก์เดียวกันเท่านั้น



  • 4.      ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer)
ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะทำหน้าที่ส่งมอบข้อมูลในลักษณะ Process-to-Process คำว่าโพรเซสในที่นี้ก็คือโปรแกรมประยุกต์ใด ๆ ที่รันอยู่บนเครื่องโฮสต์ ดังนั้นหากมีโปรแกรมรันอนู่บนเครื่องโฮสต์หลาย ๆ โปรแกรม นั่นหมายถึงมีหลายโปรเซสรันอยู่ในขณะนั้น โดยการส่งข้อมูลแบบ Source-to-Destination บนชั้นส่อสารเน็ตเวิร์กซึ่งปกติจะรับส่งข้อมูลเพียงโพรเซสเดียว คงไม่สามารถรองรับการส่งมอบข้อมูลหลาย ๆ โพรเซสนี้ได้ ดังนั้นชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจึงต้องรับหน้าที่ในการส่งมอบข้อมูลระหว่างโพ รเซสจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง



  • 5.      ชั้นสื่อสารเซสชัน (Session Layer)
การบริการบน 3 ชั้นสื่อสารแรก (ฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ และเน็ตเวิร์ก) อาจไม่เพียงพอสำหรับบางโพรเซส ดังนั้นชั้นสื่อสารเซสชันขึ้นไปจึงทำหน้าที่บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ ใช้
ชั้นสื่อสารเซสชันมีหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร การจัดการแลกเปลี่ยนข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างโฮสต์ โดยการสื่อสารที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ขณะใดขณะหนึ่งจะเรียกว่า เซสชัน ทั้งนี้หลาย ๆ เซสชันที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการทำงานของคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ตัวอย่างเช่น การล็อกอินแบบระยะไกลของเทอร์มินับเพื่อเข้าใช้บริการบนเครื่องโฮสต์ในแต่ละ ครั้ง ก็ถือเป็นเซสชั่นหนึ่งที่ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
การลอกอิน > การกรอกรหัสผ่าน > การใช้โฮสต์ > การออกจากระบบ
หรือเซสชั่นของการสนทนาที่ประกอบด้วยขั้นตอน
การเริ่มสนทนา > การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล > การจบการสนทนา
โดยหลังจากที่ได้สร้างเซสชันเรียบร้อยแล้ว การรับส่งข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต



  • 6.      ชั้นสื่อสารพรีเซสเตชัน (Presentation Layer)
เป็นชั้นสื่อสารที่นำเสนอเกี่ยวกับการแปลงข้อมูลให้มีรูปแบบและความหมาย เดียวกัน กล่าวคือระบบคอมพิวเตอร์แต่ละระดับ อาจใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ เช่น บนพีซีคอมพิวเตอร์ก็จะใช้รหัส ACSII หรือ Unicode ในขณะที่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็จะใช้รหัส EBCDIC ดังนั้นด้วยหน้าที่รับผิดชอบของชั้นสื่อสารพรีเซนเตชั่น จะทำให้ทั้งสองระบบที่ถึงแม้จะใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันสามารถนำเสนอ ข้อมูลได้อย่างเข้าใจทั้งสองฝ่าย โดยจะมีกระบวนการแปลงข้อมูล (Translation) ให้สามารถนำเสนอได้อย่างถูกต้อง กล่าวคือ ฝั่งส่งจะส่งข้อมูลอะไรไปก็ตาม ฝั่งรับก็จะได้รับข้อมูลตามนั้นด้วย

  • 7.      ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชัน (Application Layer)
เป็นชั้นสื่อสารระดับประยุกต์ที่มุ่งเน้นการติดต่อกับผู้ใช้ ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือซอฟต์แวร์สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ โดยจะมียูสเซอร์อินเทอร์เฟซเพื่อสนับสนุนงานบริการต่าง ๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อเครือข่ายแบบระยะไกลเพื่อเข้าถึงข้อมูลและถ่ายโอนข้อมูล การแชร์ฐานข้อมูลและการบริการอื่น ๆ เป็นต้น

 แบบจำลองอินเทอร์เน็ต (Internet Model)
แบบจำลองอินเทอร์เน็ต หรือชุดโพรโทคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนแบบบจำลอง OSI ดังนั้น ชั้นสื่อสารของแบบจำลองอินเทอร์เน็ตจึงไม่ตรงกับแบบจำลอง OSI แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่แบบจำลองทั้งสองต่างก็มีหลักการทำงานที่คล้าย คลึงกันมาก
สำหรับต้นฉบับของแบบจำลองอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 4 ชั้นสื่อสาร คือ
  1. ชั้นสื่อสารโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก (Host-to-Network Layer)
  2. ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ต (Internet Layer)
  3. ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer)
  4. ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer)
โดยที่ชั้นสื่อสารโฮสต์ทูเน็ตเวิร์กเป็นการรวบชั้นสื่อสารฟิสิคัลและดา ต้าลิงก์เข้าด้วยกัน ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ตก็คือชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก และชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่นก็จะรวบชั้นสื่สารเซสชั่น พรีเซนเตชั่นและแอปพลิเคชั่นเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้จะอ้างอิงแบบจำลองอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วย 5 ชั้นสื่อสารด้วยกันคือ ชั้นสื่อสารฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ เน็ตเวิร์ก ทรานสปอร์ต และแอปพลิเคชั่น

สรุป
การบวนการสื่อสารที่เริ่มจากฝั่งส่ง ที่มีการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเลเยอร์หนึ่งไปยังเลเยอร์ถัดไปด้านล่างในรูป แบบ 7-6-5-4-3-2-1 ซึ่งแต่ละเลเยอร์จะเตรียมเฮดเดอร์เพื่อนำไปปะเพิ่มกับหน่วยข้อมูล เราเรียกกระบวนการนี้ว่า เอนแคปซูเลชัน (Encapsulation)
เมื่อสัญญาณถูกส่งผ่านลิงค์จะไปถึงจุดหมายปลายทาง หน่วยข้อมูลก็จะเคลื่อนย้ายย้อนกลับขึ้นไปตามลำดับ 1-2-3-4-5-6-7 จากนั้นแต่ละเลเยอร์ก็จะถอดเฮดเดอร์เฉพาะส่วนที่เป็นของตนออก เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ดีแคปซูเลชัน (Decapsulation)
  1. ชั้นสื่อสารฟิสิคัล (Physical Layer) มีหน้าที่เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
  2. ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ (Data Link Layer) มีหน้าที่เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
  3. ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer) มีหน้าที่ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์ต้นทางไปยังโฮสต์ปลายทาง
  4. ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer) มีหน้าที่ส่งมอบข่าวสารจากโพรเซสต้นทางไปยัง
    โพรเซสปลายทาง
  5. ชั้นสื่อสารเซสชั่น (Session Layer) มีหน้าที่ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
  6. ชั้นสื่อสารพรีเซนเตชั่น (Presentation Layer) มีหน้าที่แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
  7. ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer) มีหน้าที่จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1 การสือสารข้อมูลใยและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การสือสารข้อมูล การแลกเปลียนข้อมูลระหว่างสองอุปกรณ์ โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ต้องการส่งข่าวสารจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง





สัญญาณและแอนะล็อก เป็นสัญญาณที่เป็นรูปคลื่นขึ้นลงสลับกันไปแบบต่อเนื่อง สามารถส่งข้อมูลออกไปได้ในระยะงทางไกล




สัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณที่มีรูปแบบไมต่อเนื่อง รูปแบบของแรงดันไฟฟ้าจะมีค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น ข้อดีของสัญญาณนี้ก็คือ เป็นสัญญาณทนต่อการรบกวนได้ดี

ส่วนประกอบของระบบการสือสาร ประกอบด้วย
1. ข่าวสาร
2. ผู้ส่ง (แหล่งกำเนิดข่าวสาร)
3. ผู้รับ (จุดหมายปลายทาง)
4. สื่อการส่งข้อมูล
5. โพรโทคอล



คุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการของการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วย
1. การส่งมอบ
2. ความถูกต้องแน่นอน
3. ระยะเวลา



ทิศทางการส่งข้อมูล ในระบบสื่อสารมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1. การสื่อสารแบบทิศทางเดียว (Simplex)
2. การสื่อสารแบบกึ่งสองทิศทาง  (Half-Duplex)
3. การสื่อสารแบบสองทิศทาง (Full-Duplex)




การสื่อสารโทรคมนาคม เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องส่งอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถส่งผ่านตัวกลางไปยังจุดหมายปลายทางที่อยู่ไกลได้ ตัวอย่างเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ไมโครเวฟ และดาวเทียม



เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการนำกลุ่มคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย และสามารถแชร์ทรัพยาการบนเครือข่าย เช่น ไฟล์ข้อมูล เรื่องเครื่องพิมพ์ เพือใช้งานรวมกันบนเครือข่ายได้
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่แบ่งแยกตามภูมิศาสตร์ มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1.เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)


2. เครือข่ายระดับเมือง (MAN)



3. เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)

ประโยชน์ของเครือข่ายท้องถิ่น ประกอบด้วย
1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. ช่วยลดต้นทุ้น
3. เพิ่มความสะดวกในด้านการสื่อสาร
4. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ

การติดตั้งเครือข่ายเพื่อใช้งาน ยังสามารถเลือกการเชื่อต่อตามสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่เหมาะสมอันได้แก่ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และแบบ Client/Server

เกณฑ์วัดประสิทธิภาพของเครือข่าย สามารถพิจารณาจากกฎเกณฑ์ต่อไปนี้
1.สมรรถนะ ได้แก่ จำนวนผู้ใช้งานชนิดสื่อกลางที่ใช้ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
2.ความน่าเชื่อถือ ได้แก่ ความถี่ของความล้มเหลว ระยะเวลาในการกู้คืน และความคงทนต่อความล้มเหลว
3.ความปลอดภัย ได้แก่ การป้องกันบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และ การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์


อ้างอิง
หนังสือสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&biw=1173&bih=797&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjKxqrwt_XPAhWJLI8KHcYuC6wQ_AUIBigB#imgrc=F1F-7sCsMhyaDM%3A

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&biw=1173&bih=797&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjKxqrwt_XPAhWJLI8KHcYuC6wQ_AUIBigB#tbm=isch&q=%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3&imgrc=SfoRM3VgmF609M%3A

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&biw=1173&bih=797&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjKxqrwt_XPAhWJLI8KHcYuC6wQ_AUIBigB#tbm=isch&q=%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99+3+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&imgrc=ga2D6jyTu1SEgM%3A

http://radio.prd.go.th/buengkan/images/article/news208/n20130215175335_1162.jpg


http://www.personet-services.com/images/Local-Area-Network-or-LAN.jpg

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3&authuser=1&biw=1366&bih=604&site=webhp&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiM6o2px_XPAhUFE7wKHew1B2AQ_AUIBigB#imgrc=xYs3JyLQEBXBaM%3A

http://static.wixstatic.com/media/f528fe_2b3c759ba5db48969f5a59c60ac50482.jpeg_srz_600_332_85_22_0.50_1.20_0.00_jpeg_srz